กลูเตน ฟรี เทรนด์สุขภาพใหม่

ในช่วงนี้ตามท้องตลาดเราจะสามารถเห็นผลิตภัณฑ์ที่เขียนว่า “กลูเตน ฟรี” หรือ ”ปราศจากกลูเตน” ค่อนข้างเยอะมากขึ้น ซึ่งกลูเตนฟรี คืออะไรและภาวะที่ไวต่อกลูเตนคืออะไร วันนี้เรามาทำความรู้จักกับ “กลูเตน ฟรี” กันดีกว่า

กลูเตน คืออะไร
กลูเตน หรือ Gluten เป็นไกลโคโปรตีนที่พบในพืช เกิดจากการรวมตัวของโปรตีนกลูเตนิน (Glutenin) และไกลอะดิน (Gliadin) มีลักษณะเหนียว ยืดหยุ่น และไม่ละลายน้ำ ซึ่งทำให้อาหารคงรูปร่างและจับตัวเป็นก้อน พบได้ในข้าวสาลี (Wheat), ข้าวไรย์ (Rye), ข้าวสเปลท์ (Spelt), ข้าวคามุท (Kamut), ข้าวบาร์เลย์ (Barley), และข้าวทริทิเคลี (Triticale) ส่วนข้าวโอ๊ต (Oats) จะไม่มีกลูเตน แต่ว่า มักจะถูกปนเปื้อนในระหว่างการผลิต
ข้อมูลจาก https://www.bdmswellness.com/…/all-you-need-to-know…… 

อาหารที่ปราศจากกลูเตน หรือกลูเตนฟรีมีอะไรบ้าง

ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว บัควีต ควินัว ถั่วต่าง ๆ แป้งลูปิน แป้งกัวร์กัม แป้งเท้ายายม่อม แป้งมันสำปะหลัง แป้งกล้วย แป้งมะพร้าว แป้งเฮมพ์ แป้งถั่วลูกไก่ แป้งถั่วเหลือง แป้งอัลมอนด์ แป้งควินัว แป้งผักโขม

เส้นก๋วยเตี๋ยว วุ้นเส้น โซบะแบบไม่มีกลูเตน
กราโนล่าและคอร์นเฟลก โรลโอ๊ต ซีเรียลข้าว ซีเรียลลูกเดือย ข้าวพอง ข้าวอบกรอบ

เนื้อสัตว์ที่ไม่แปรรูป ผักและผลไม้สด
ข้อมูลจาก https://www.bdmswellness.com/…/all-you-need-to-know…

ภาวะแพ้ กลูเตน

แล้วทำไมคนเราถึงแพ้กลูเตน ปกติแล้วเยื่อบุลำไส้จะเรียงตัวกันแน่น และมี Tight Junction ที่ค่อยป้องกันไม่ให้สิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย แม้เมื่อร่างกายไม่สามารถย่อยกลูเตนได้หมด กลูเตนจะผ่านไปจนถึงลำไส้เล็ก และกระตุ้นให้เซลล์เยื่อบุลำไส้หลั่งโปรตีน Zonulin ออกมาทำลาย Tight Junction ทำให้กลูเตนผ่านเข้าสู่กระแสเลือด เมื่อร่างกายรู้ก็จะตอบสนองด้วยการปล่อยสารออกมาทำลายกลูเตน ทำให้เกิดการอักเสบในร่างกาย

ซึ่งภาวะแพ้กลูเตนสามารถแบ่งได้ 3 ประเภทหลัก
– แพ้ข้าวสาลี (Allergic to wheat) ซึ่งเป็นภาวะที่แพ้โปรตีนจากข้าวสาลี ต่างจากโรคเซลิแอด เพราะอาการจะเกิดขึ้นทันที และมีความรุนแรงของอาการแพ้ข้าวสาลีที่แตกต่างกันออกไป บางคนอาจจะบวมแดงตามผิวหนัง หลอดลมบวมแดงหายใจไม่ออก จนกระทั่งแพ้รุนแรงจนแก่ชีวิตได้
– ภาวะไวต่อกลูเตน (Gluten Sensitivity) หรือ Non-celiac Gluten Sensitivity (NCGS) แต่ภาวะที่ร่างกายไม่ย่อยกลูเตน แต่อาการไม่รุนแรงเท่าโรคเซลิแอค แต่หากร่างกายไม่สามารถย่อยกลูเตนได้นาน ๆ ก็จะพัฒนาไปสู่โรคเซลิแอค
– โรคเซลิแอค (Celiac Disease) ทั่วโลกจะพบคนที่เป็นโรคนี้อยู่ประมาณที่ 0.5-1% ซึ่งโรคนี้จัดเป็นโรคแพ้ภูมิตนเองชนิดหนึ่ง เกิดจากสิ่งแวดล้อมหรือพันธุกรรม
ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่เกิดจากโรคเซลิแอค
เมื่อทานกลูเตนเข้าไปแล้ว ร่างกายจะตอบสนองที่ผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เกิดการอักเสบที่บริเวณเยื่อบุลำไส้เล็ก ทำให้ไม่สามารถดูดซึมสารอาหารได้อย่างเต็มที่ อาการในแต่ละคนก็จะแตกต่างกัน เช่น มีลมในท้องเยอะ ผายลมบ่อย คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดท้อง หรือเป็นสิวง่าย รอยสิวหายช้า ความคิดความจำไม่แม่นยำ และหากเป็นเรื้อรังอาจจะทำให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมาได้

ซึ่งภาวะแพ้กลูเตนสามารถทำการตรวจ เพื่อหาภูมิแพ้อาหารแฝงได้

ข้อมูลจาก https://www.bdmswellness.com/…/all-you-need-to-know…