สิ้นปี เป็นช่วงที่หลาย ๆ คน มักเดินทางออกไปเที่ยวจังหวัดอื่น ๆ หรือขับรถกลับบ้านที่ต่างจังหวัด ซึ่งการขับรถทางไกลก็เป็นอะไรที่เหนื่อย และมักเกิดปัญหาหลับใน บางคนอาจจะคิดว่า แค่วูบแปบเดียวคงไม่เป็นไร แต่ว่า แม้จะเป็นการเผลอหลับในแค่ 3-4 วินาที แต่ก็ทำให้รถของคุณเสียการควบคุมถึง 100 เมตร และอาจเกิดอุบัติเหตุได้
เพราะฉะนั้น วันนี้เรามาทำความรู้จักกับหลับในกันดีกว่าครับ
หลับใน คืออะไร
ภาวะการหลับในหรือการหลับระยะสั้น ๆ (Microsleep) เป็นภาวะที่ร่างกายสับสนระหว่างการหลับและการตื่น โดยการหลับเข้ามาแทรกการตื่นอย่างเฉียบพลันโดยที่ไม่รู้ตัวในช่วงเวลาสั้น ๆ ประมาณ 1-2 วินาที
ซึ่งต่างจากการหลับแบบปกติ เพราะเราหลับโดยที่ร่างกายไม่สับสนและไม่ใช่การหลับมาแทรกตอนที่เราตื่นอยู่
สาเหตุของการหลับใน
– อดนอน หากนอนไม่เพียงพอ ต่ำกว่า 7 ชั่วโมงต่อวัน จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะหลับใน เพราะสมองส่วนธาลามัสอาจจะหยุดทำงานสั้น ๆ ชั่วคราว ทำให้เกิดความง่วงกะทันหัน (Sleep Attack) งีบหลับไม่รู้ตัว ไม่ตอบสนองต่อการรับรู้ จนหลับในได้
– นอนไม่เป็นเวลา นอนดึกตื่นสาย ส่งผลเสียต่อร่างกาย คือ ฮอร์โมนเกิดการเปลี่ยนแปลง รู้สึกอ่อนเพลีย นอนไม่อิ่ม
– เวลานอนเปลี่ยนไปมา ทำให้สมอง งง และเกิดความเสื่อม เพราะสมองและร่างกายจะจำเวลานอนปกติของเรา เมื่อเปลี่ยนเวลาไปมา จะทำให้เวลานอนไม่ง่วง นอนน้อยลง หลับไม่เต็มอิ่ม
– กรรมพันธุ์
ข้อมูลจาก https://www.bangkokinternationalhospital.com/…/be…
https://shorturl.at/uLUY3
สัญญาณที่บอกว่าง่วงมากผิดปกติ เสี่ยงหลับใน และวิธีป้องกัน
– ตื่นตอนเช้าไม่สดชื่น อยากนอนต่อ
– ง่วงเหงาหาวนอนบ่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง
– มึนหัว มองภาพไม่ชัด ตาปรือ รู้สึกลืมตาไม่ขึ้น ไม่สนใจสิ่งรอบตัว เช่น มองข้ามไฟจราจร
– จำเส้นทางที่เพิ่งขับผ่านมาไม่ได้
– กะพริบตาถี่ขึ้น
– ไม่มีสมาธิในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ไม่สามารถควบคุมรถได้
– เมื่ออยู่นิ่ง ๆ เผลอหลับไม่รู้ตัว
– อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า
วิธีป้องกันหลับใน
– นอนให้พอ
– นอนให้เป็นเวลา
– นอนเวลาเดิมเป็นประจำ
– งดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน หลัง 4 โมงเย็น เพื่อเวลานอนร่างกายจะสามารถหลับลึกได้ และเต็มอิ่ม
– จัดห้องนอนให้ที่สภาพแวดล้อมเหมาะกับการพักผ่อน เพื่อการหลับที่มีคุณภาพ
ข้อมูลจาก https://www.bangkokinternationalhospital.com/…/be…
ขับทางไกลแค่ไหน ก็ไม่หลับใน
– พักรถและจอดพักทุก ๆ 2 ชั่วโมง
– ถ้ารู้สึกง่วง ให้งีบพัก 5-45 นาที
– ถ้าไปกันหลายคน ให้สลับกันขับ เพื่อลดอาการเหนื่อยล้า
– งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
– งดยาที่ทำให้ง่วง เช่น ยาแก้แพ้
– ควรขับช่วงกลางวัน มากกว่าช่วงดึกหรือเช้ามืด
ข้อมูลจาก https://www.bangkokinternationalhospital.com/…/be…