หลายคนอาจจะเคยมีประสบการณ์ดื่มกาแฟแล้วมีอาหาร ใจสั่น รู้สึกหัวใจเต้นเร็ว ทำไมกาแฟจึงมีผลต่อหัวใจ และอันตรายหรือเปล่า เรามีคำตอบมาฝากกัน
คาเฟอีนในกาแฟมีผลต่อ (หัว) ใจอย่างไร
ในกาแฟมีคาเฟอีนซึ่งคาเฟอีนก็สามารถพบได้ในชา ช็อกโกแลต เครื่องดื่มชูกำลัง และน้ำอัดลม
คาเฟอีนจะช่วยให้ร่างกายรู้สึกตื่นตัว ลดความเหนื่อยล้า และเพิ่มสมาธิ แต่ในบางคนที่ดื่มกาแฟเข้าไป ก็จะรู้สึกว่าใจสั่น เพราะคาเฟอีนส่งผลต่อการทำงานของเอนไซม์ในหัวใจ รวมไปถึงกระตุ้นการหลั่งสารอะดรีนาลีน ที่ทำให้หัวใจบีบตัวแรงเต้นเร็วขึ้น และยังมีอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น ซึ่งนั่นทำให้บางคนรู้สึกกระวนกระวายใจ หงุดหงิด ใจสั่น ให้ค่อย ๆ หายใจเข้าออกลึก ๆ ช้า ๆ เพื่อลดอัตราการเต้นของหัวใจ และชะลอให้คาเฟอีนทำงานน้อยลง ดื่มน้ำเปล่าเยอะ ๆ
แต่ถ้าหากดื่มกาแฟแล้ว รู้สึกว่าใจสั่น ใจเต้นเร็ว แรง ก็ควรหยุดดื่มกาแฟหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เพราะบางทีในกรณีที่ดื่มกาแฟมาก ๆ ก็สามารถกระตุ้นในเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ หากอาการรุนแรง มีอาการใจสั่น หายใจไม่อิ่ม รู้สึกหัวใจสะดุด เต้นเร็ว ให้รีบพบแพทย์
แต่ถ้าใจสั่นเพราะแกให้รีบเรียกโค้ชและพบแพทย์สนามนะครับ
ข้อมูลจาก https://www.sukumvithospital.com/content.php?id=3579
https://www.bangkokhearthospital.com/…/cannabis…
https://www.medparkhospital.com/lifestyles/caffeine
https://www.unlockmen.com/girard-perregaux-neo-constant…
ดื่มแค่ไหนถึงพอดี
สำหรับคนทั่วไป ปริมาณคาเฟอีนสูงสุดที่สามารถดื่มได้คือ 400 มิลลิกรัม และไม่เกิน 200 มิลลิกรัม ในการดื่มครั้งเดียว ซึ่งในแต่ละเครื่องดื่มนั้นมีปริมาณของคาเฟอีนที่แตกต่างกันออกไป
เช่น
– กาแฟ มีปริมาณคาเฟอีน 100 มิลลิกรัม ต่อแก้ว ซึ่งก็จะตกเฉลี่ย สามารถดื่มได้ 3-4 แก้วต่อวัน
– กาแฟสำเร็จรูป มีปริมาณคาเฟอีน 27-173 มิลลิกรัมต่อแก้ว สามารถดื่มได้ 1-3 แก้วต่อวัน
– ชาดำ มีปริมาณคาเฟอีน 40-120 มิลลิกรัม ต่อแก้ว สามารถดื่มได้ 1-3 แก้วต่อวัน
– ชาเขียว มีปริมาณคาเฟอีน 25-29 มิลลิกรัม ต่อแก้ว สามารถดื่มได้เยอะ
แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความเข้มข้น และแต่ละบุคคล หากใครร่างกายไวต่อคาเฟอีนมาก ๆ ก็ควรระวังในการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
และไม่ควรดื่มกาแฟหลังบ่ายสาม เพื่อให้เข้านอนในช่วงกลางคืนได้ดี
สำหรับผู้ที่ต้องระมัดระวังในการดื่มกาแฟและเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
– คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์และให้นมลูกน้อยก็ควรระวังในเรื่องเครื่องดื่มคาเฟอีน เพราะอาจจะส่งผลกระทบถึงลูกน้อยได้
– ผู้ที่มีความผิดปกติในการนอนหลับ หลับยาก
– ผู้ที่เป็นไมเกรน หรือปวดหัวเรื้อรัง
– ผู้ที่มีความวิตกกังวล
– ผู้ที่เป็นกรดไหลย้อน หรือแผลในกระเพาะอาหาร
– ผู้ที่มีอัตราการเต้นของหัวใจผิดปกติ ผิดจังหวะ
– ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง
– ผู้ที่ทานยาบางกลุ่ม
– เด็กหรือวัยรุ่น
ข้อมูลจาก
https://www.bangkokhearthospital.com/…/cannabis…
https://www.medparkhospital.com/lifestyles/caffeine