บริจาคเลือด ดีต่อเรา ดีต่อสังคม

บร

ช่วงนี้และช่วงที่ผ่านมาเราค่อนข้างเห็นข่าว “เลือดขาดแคลน” อยู่บ่อย ๆ ใช่มั้ยครับ? วันนี้เราเลยอยากชวนทุกคนที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงมา บริจาคเลือด กัน เพราะการบริจาคเลือดจริง ๆ แล้วไม่ใช่แค่ได้ช่วยเหลือผู้อื่น หรือดีต่อสังคมท่านั้น แต่การบริจาคเลือดยังดีกับตัวเราเองด้วย

งั้นมาดูกันดีกว่าว่า ดีอย่างไร แล้วใครบริจาคได้บ้าง และข้อปฏิบัติต่าง ๆ จะเป็นยังไงบ้าง

บริจาคเลือด แล้วดีกับเราอย่างไร

การบริจาคเลือดนั้นดีต่อร่างกายเราเองไม่น้อยเลยนะครับ เพราะว่า การบริจาคเลือดนั้นจะช่วยกระตุ้นการทำงานของไขกระดูกให้สร้างเม็ดเลือดที่มีคุณภาพมาใหม่ และหมุนเวียนในร่างกาย ซึ่งก็จะทำให้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายทำงานได้ดีขึ้น ผิวพรรณก็จะสดใส เปล่งปลั่ง และร่างกายก็จะแข็งแรงมากขึ้น รวมทั้งยังมีโอกาสที่เจ็บป่วยน้อยลง แถมการบริจาคเลือดเป็นประจำ ยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งอีกด้วย

ข้อมูลจาก https://www.vichaiyut.com/…/question-healthy-give-blood/

ใครบ้างที่บริจาคได้

เมื่อเรารู้แล้วว่า บริจาคเลือดนั้นดีกับร่างกายอย่างไร สำหรับใครที่สนใจมาดูกันว่า เราเหมาะสมและสามารถบริจาคเลือดได้มั้ย?
1. อายุ 17-70 ปี (อายุไม่ถึง 18 ปี จะต้องมีเอกสารยินยอมจากผู้ปกครอง)
2. ผู้บริจาคที่อายุ 60-65 ปี ต้องผ่านเกณฑ์คุณสมบัติอื่น ๆ
– เป็นผู้บริจาคเลือดประจำมาโดยตลอดจนกระทั่งอายุ 60 ปี (อย่างน้อย 4 ครั้งใน 3 ปีล่าสุด)
– บริจาคโลหิตได้ทุก 6 เดือน
– ตรวจ CBC ปีละ 1 ครั้ง โดยเริ่มตรวจครั้งแรกตอนบริจาคโลหิตเมื่ออายุครบ 60 ปี และผ่านเกณฑ์ CBC
3. น้ำหนัก 48 กิโลกรัมขึ้นไป
4. ไม่อยู่ในระหว่างการรับประทานยาปฏิชีวนะ, ยาป้องกันเลือดแข็งตัว, ยาเพิ่มการเจริญเติบโต (Growth Hormone), ยารักษาสิว Isotretinoin, ยารักษาต่อมลูกหมาก, ยาปลูกผม (Finasteride)
5. สุขภาพแข็งแรง ไม่มีอาการเจ็บป่วย มีความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ
6. ไม่ได้รับการถอนฟันหรือขูดหินปูน ภายใน 72 ชั่วโมงก่อนบริจาคเลือด ไม่มีบาดแผลสดหรือแผลติดเชื้อใด ๆ ตามร่างกาย
7. ไม่มีประวัติโรคมาลาเรียในระยะเวลา 3 ปี
8. ผู้หญิงที่ไม่อยู่ในระยะตั้งครรภ์หรือให้นมลูกๆ
9. ผู้หญิงควรให้ประจำเดือนหยุดก่อนแล้วค่อยบริจาคเลือด

ส่วนคนที่ไม่สามารถบริจาคได้
1. ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ โรคปอด มะเร็ง ลมชัก อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคเลือดออกง่ายแต่หยุดยาก โรคเบาหวานที่ต้องใช้ยาอินซูลินหรือคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ 2. ผู้ที่เป็นหรือเคยเป็นไวรัสตับอักเสบบีหรือคู่ครองเป็นไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี รวมทั้งผู้ติดเชื้อเอสไอวีหรือซิฟิลิส 3. ผู้เสพยาเสพติดชนิดใช้เข็มฉีดยา 4. ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ มีคู่นอนหลายคนหรือเปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ ผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย 5. น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุมากกว่า 5 กิโลกรัม ในเวลา 2 เดือน และมีต่อมน้ำเหลืองตามร่างกายโต หรือมีไข้โดยไม่ทราบสาเหตุ

ข้อมูลจาก https://www.si.mahidol.ac.th/…/e-pl/articledetail.asp… 

ข้อปฏิบัติก่อน-หลังบริจาค

มาเตรียมตัวให้พร้อมก่อนบริจาค


1. ก่อนบริจาคเลือด 1-2 วัน ควรดื่มน้ำเยอะ ๆ เพื่อให้ร่างกายสดชื่น และให้เลือดไหลเวียนได้ดี 2. นอนหลับพักผ่อนอย่างน้อย 6 ชั่วโมงขึ้นไป
3. งดดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ก่อน 24 ชั่วโมง 4. ไม่ควรเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายที่ต้องเสียเหงื่อมากก่อนบริจาคเลือด 1 วัน 5. รับประทานอาหารก่อนบริจาคเลือดภายใน 4 ชั่วโมง
หลังการบริจาคโลหิตเสร็จแล้ว ควรนั่งพักประมาณ 10-15 นาที และทานขนมหรืออาหารว่าง ดื่มน้ำ/เครื่องดื่ม 1-2 แก้ว แล้วค่อยทานอาหารตามปกติ ไม่ควรงดอาหาร โดยเฉพาะอาหารประเภทเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ตับ ไข่ เลือดหมู เลือดไก่ ผักใบเขียวและผักที่มีสีเหลือง 1. งดสูบบุหรี่ 1 ชั่วโมง หลังบริจาคเลือด 2. งดดื่มแอลกอฮอล์จนกว่าจะได้ทานอาหาร 3. ดื่มน้ำมากกว่าปกติเป็นเวลา 1-2 วัน เพื่อทดแทนปริมาณเลือดที่เสียไป

ข้อมูลจาก https://www.si.mahidol.ac.th/…/e-pl/articledetail.asp… 

บริจาคเลือด แบบ New normal

ทางศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ได้มีมาตรการป้องกันและบริจาคแบบ New normal
โดยผู้มาบริจาคเลือดต้องตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย ที่จุดตรวจ


– สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา
– มีการติดตั้งฉากกั้น เพื่อรักษาระยะห่าง
– มีถุงแขนสำหรับวัดความดัน เพื่อลดการสัมผัสกับเครื่องวัดความดัน
– ทำความสะอาดเตียงและอุปกรณ์ต่าง ๆ ตลอดเวลา
– งดใช้ผ้าห่ม
– ส่วนผู้มาบริจาคควรประเมินตัวเองก่อนมาบริจาคเลือดทุกครั้งและรับการตรวจประเมินก่อนบริจาค
– หากอยู่ในพื้นที่เสี่ยงหรือใกล้ชิดกับกลุ่มเสี่ยงและหายป่วยจาก COVID-19 โดยไม่มีอาการของโรค ควรงดบริจาคเลือด และทิ้งระยะเวลา 4 สัปดาห์ แล้วค่อยบริจาค
– ตรวจและตอบคำถามการคัดกรองความเสี่ยงตามความจริง เพื่อความปลอดภัยของทุกคน

ข้อมูลจาก https://www.redcross.or.th/news/information/13082/