ท้องอืด กับ ท้องเฟ้อ ต่างกันอย่างไร?

เวลาที่เรารู้สึกไม่สบายท้อง มีลมในท้องเยอะ ๆ เหมือนอาหารไม่ย่อย เราก็มักจะเรียกว่าเป็นอาการ ท้องอืด ท้องเฟ้อ แต่ว่าท้องอืดกับท้องเฟ้อนั้น เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร วันนี้เรามาดูกันครับ

ท้องอืด VS ท้องเฟ้อ

ท้องอืด
เป็นอาการที่มีลมในกระเพาะอาหารและลำไส้มาก เพราะอาหารไม่ย่อย ทำให้รู้สึกอึดอัดแน่นท้อง เรอและผายลมบ่อย หรือมีภาวะท้องโต บางครั้งอาจได้เสียงโครกครากในท้อง และอาจปวดท้อง โดยจะปวดแถวกลางท้องส่วนบน ซึ่งอยู่ระหว่างใต้ลิ้นปีและเหนือสะดือ

ท้องเฟ้อ
เป็นอาการที่มีลมในกระเพาะอาหาร เพราะอาหารไม่ย่อย หรือ อาหารเป็นพิษ เมื่อเรอมักมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว

แต่โดยรวมแล้วทั้งท้องอืดและท้องเฟ้อ ก็มีความใกล้เคียงกัน เวลาเรียกเลยใช้คำรวม ๆ ของอาการที่มีลมในกระเพาะเยอะว่า ท้องอืด ท้องเฟ้อ

ข้อมูลจาก https://shorturl.at/gotNS

ท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้ได้

อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่จะพบได้บ่อยในช่วงอายุ 30-40 ปีขึ้นไป เพราะว่าในช่วงวัยนี้การทำงานของระบบการย่อยอาหารมีการเสื่อมถอยลงตามวัย

สาเหตุที่ทำให้ท้องอืด ท้องเฟ้อ
– พฤติกรรมในการทานอาหาร เช่น ทานเร็ว ดื่มเร็ว ทานผิดเวลา เคี้ยวอาหารไม่ละเอียด ดื่มเครื่องดื่มที่มีก๊าซ เช่น น้ำอัดลม เบียร์ จึงทำให้มีแก๊สหรือลมในท้องเยอะ ซึ่งการทานอาหารประเภท นม ถั่ว อาหารที่ไขมันสูง หรือทานรสจัดก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุ
– มีลมในกระเพาะอาหารมากเกินไป อาจจะมีอาการผิดปกติในช่องท้อง
– ความผิดปกติของระบบการย่อยอาหารที่ไม่สมบูรณ์
– กลืนอากาศ กลืนลม หรือกลืนอากาศเข้าไปเยอะในระหว่างการทานอาหาร ดื่มน้ำ พูดคุย หรือแม้แต่การเคี้ยวหมากฝรั่ง สูบบุหรี่ หัวเราะ นอนกรน ก็เป็นพฤติกรรมที่ทำให้กลืนลม กลืนอากาศเข้าไปในท้องเช่นกัน

หรือในบางครั้งอาจเกิดจากการทานอาหารที่มีกากใยน้อย ดื่มน้ำน้อย ไม่ค่อยขยับร่างกาย
เพราะฉันนั้นท้องอืด ท้องเฟ้อแก้ได้ด้วย…
– ไม่ทานเยอะจนเกินไป
– เคี้ยวอาหารให้ละเอียด
– หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดแก๊ส เช่น น้ำอัดลม นม ถั่ว อาหารที่มีไขมันสูง ผักตระกูลกะหล่ำปลี (กะหล่ำปลี บรอกโคลี ผักกาด คะน้า เคล) ผักที่มีกำมะถันสูง (หัวหอม ต้นหอม กระเทียม)
– ทานผัก ผลไม้ที่มีกากใย และดื่มน้ำเยอะ ๆ
– ไม่นั่งนานต่อเนื่องเกินกว่า 1 ชั่วโมง

โดยปกติร่างกายต้องการพรีไบโอติกส์ และไฟเบอร์ เพราะสามารถช่วยในเรื่องของการเคลื่อนที่ของอาหารไปตามทางเดินอาหาร และการทานพรีไบโอติกส์และไฟเบอร์ยังมีส่วนช่วยในการลดท้องอืด เนื่องการส่งเสริมการทำงานของแบคทีเรียในลำไส้ให้ทำหน้าที่ดูดแก๊สส่วนเกิน และสร้างสมดุลแก่ลำไส้ได้ดี

ปริมาณไฟเบอร์ที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน
อายุ 19-30 ปี ผู้ชาย 34 กรัม ผู้หญิง 28 กรัม
อายุ 31-50 ปี ผู้ชาย 31 กรัม ผู้หญิง 25 กรัม
อายุ 50 ปีขึ้นไป ผู้ชาย 28 กรัม ผู้หญิง 22 กรัม

ซึ่งถ้าใครกำลังมองหาไฟเบอร์สักตัว #เพ็ชรรัตน์แนะนำ Sharisfiber ชาริชไฟเบอร์ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไฟเบอร์คุณภาพสูง มีส่วนประกอบของไฟเบอร์ 5 ชนิด Fibregum ใยอาหารธรรมชาติเกรดพรีเมียม, FOS สกัดจาก Beet Sugar, XOS, Inulin, Applae fiber ซึ่งเป็นพรีไบโอติกส์ มาพร้อม 8 สารสกัดจากผักและผลไม้

ข้อมูลจาก https://shorturl.at/gotNS
https://shorturl.at/vAGW6
https://www.medparkhospital.com/…/flatulence-farting…
https://www.samitivejhospitals.com/…/bloating-burping-gas

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line Official: @diamond1988 หรือคลิก https://bit.ly/diamond1988