ช่วงสิ้นปี รับรองว่าหลาย ๆ คน มีคิวปาร์ตี้ยาวเหยียด ยิ่งสายปาร์ตี้เรียกได้ว่า เป็นช่วงเวลาแห่งการสังสรรค์และดื่ม วันนี้เราเลยมีสิ่งที่สายปาร์ตี้ต้องรู้และพลาดไม่ได้ กับ ภาวะแอลกอฮอล์เป็นพิษ ซึ่งภาวะนี้คืออะไร เรามาทำความรู้จักกันดีกว่า
ภาวะแอลกอฮอล์เป็นพิษ คืออะไร
แอลกอฮอล์เป็นพิษ (Alcohol Poisoning) คือการดื่มสุรา เบียร์ ไวน์ วิสกี้ บรั่นดี หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด ในปริมาณที่มาก และช่วงเวลาที่สั้น ๆ หรือที่เรียกว่า ดื่มเร็ว ดื่มเยอะ
ก็จะทำให้ตับไม่สามารถขับสารนี้ออกจากเลือดได้ทัน ทำให้ระบบการทำงานต่าง ๆ ของร่างกาย ถูกรบกวน จนทำให้เกิดภาวะช็อกขึ้น และอาจอันตรายร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
สาเหตุ
ดื่มแอลกอฮอล์จนระดับแอลกอฮอล์ในเลือด 400 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ขึ้นไป ซึ่งอยู่ที่ปัจจัย ดังนี้
– การดูดซึมสารในร่างกายของแต่ละบุคคล
– ปริมาณความเข้มข้นของแอลกอฮอล์
เบียร์ ประมาณ 5% จะมี 1 ดื่ม = 1 กระป๋อง หรือ 1 ขวดเล็ก 330 มิลลิลิตร
ไวน์ ประมาณ 12% จะมี 1 ดื่ม = 1 แก้ว หรือ 100 มิลลิลิตร
สุรากลั่น ประมาณ 40% จะมี 1 ดื่ม = 3 ฝา หรือ 30 มิลลิลิตร
– ผู้หญิง จะมีปฏิกิริยาต่อแอลกอฮอล์ได้ไวกว่า ผู้ชาย
อาการ
– เริ่มกระวนกระวาย สับสน พูดจาไม่รู้เรื่อง
– ไม่สามารถทรงตัวได้
– ง่วงซึม นอนเยอะกว่าปกติ
– มีอาการกึ่งโคม่า รู้สึกตัวแต่ไม่สามารถตอบสนอง
– อาเจียนเยอะ หรืออาเจียนเป็นเลือด
– หายใจช้าลง หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ
– น้ำตาลในเลือดต่ำจน ทำให้เกิดอาการชัก หรือเสียชีวิต
ซึ่งนอกเหนือจากสาเหตุและอาการ สำหรับสายปาร์ตี้ที่ปาร์ตี้บ่อย ๆ ก็ต้องดูแลร่างกาย ยิ่งดื่มบ่อย ต้องดูแลตับ #เพ็ชรรัตน์แนะนำ Dr.Lee & Dr.Albert Liv Care เสริมอาหารที่มีส่วนช่วยในการดูแลตับ
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line Official: @diamond1988 หรือคลิก https://bit.ly/diamond1988
ข้อมูลจาก https://shorturl.at/ezCE6 | https://shorturl.at/uBEHX | https://shorturl.at/amINP | https://shorturl.at/otNS0
วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
เมื่อเจอคนที่มีภาวะเป็นพิษ…
– โทรเรียก 1669 หรือรถพยาบาลอย่างเร่งด่วน
– ไม่ปล่อยให้ผู้ป่วยอยู่ตามลำพัง เฝ้าสังเกตอาการของผู้ป่วยตลอด
– พยายามปลุกให้ผู้ป่วยมีสติ ไม่หลับ และพยุงให้อยู่ในท่านั่ง
– หากผู้ป่วยรู้สึกตัวให้ดื่มน้ำเปล่าเข้าไปเยอะ ๆ
– ไม่พยายามให้ผู้ป่วยอาเจียน เพราะอาจระคายเคืองทางเดินอาหาร ทำให้อาเจียนเป็นเลือดได้
– หากผู้ป่วยหมดสติ ไม่รู้สึกตัว ให้จับนอนตะแคง และสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด จนกว่าทีมกู้ชีพจะมา
ข้อมูลจาก https://shorturl.at/ezCE6 | https://shorturl.at/uBEHX | https://shorturl.at/amINP | https://shorturl.at/otNS0